วิชาชีพครู
1. ครูอาชีพ กับ อาชีพครู
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวถึงครูอาชีพว่า คือ ครูที่เป็นครูด้วยใจรัก เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ
มีความเป็นครูทุกลมหายใจตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นครูที่รักและหวงแหน ห่วงใย อาทร ต่อนักเรียน
ต่อศิษย์ดุจลูกในไส้ของตนเอง จะทำทุกวิถีทางที่จะให้ศิษย์เป็นคนดี
ไม่ยินยอมให้ศิษย์เป็นคนไม่ดีเป็นอันขาด
จะติดตามสอดส่องศิษย์ทุกเมื่อเชื่อวันโดยไม่ละทิ้งและมีความสุขมากในการที่ได้เกิดมาเป็นครู
รักเกียรติเทอดทูนสถาบันครูอย่างภาคภูมิใจ 1และ ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ได้สรุปว่า ครูอาชีพ คือครู ที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านที่จะเป็นครู มีความประพฤติดี
วางตัวดี เอาใจใส่ดูแลศิษย์ดี มีวิญญาณของความ
เป็นครู
และปฏิบัติหน้าที่ครูด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู 2ส่วนคำว่า อาชีพครู พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ได้อธิบายว่า อาชีพครู คือครูที่ใช้วิชาที่ร่ำเรียนมาเป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพ
ไม่ได้เป็นครูด้วยความรักสมัครใจ ครูประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้วิชาครู
ไม่จำเป็นต้องมีความเข้าใจวิชาที่ตนสอนมากนัก แค่สอนจบไปวัน ๆ
หนึ่งก็พอแล้ว ศิษย์จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ช่างศิษย์
ไม่สนใจ ขอให้มีเงินเดือนตามวิทยฐานะก็พอ ศิษย์จะดีไม่ดีไม่เป็นธุระ
บางคนก็หาอาชีพเสริมทำ เช่น รับจ้างสอนพิเศษ บางรายหนักลงไปอีกถึงรับจ้างแทงหวย จนแม้แต่ขายยาบ้าก็มี
ครูประเภทนี้รัฐได้ประโยชน์ตอบแทนไม่คุ้มค่าและหลายรายนำความเสียหายมาสู่สถาบันอีกโสดหนึ่งด้วย
3 คนที่มีลักษณะเป็นอาชีพ
ครู
คือคนที่มายึดการเป็นครูเป็นอาชีพเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนขาดจิตวิญญาณของความเป็นครูซึ่งขณะนี้ครูของไทยมีลักษณะอาชีพครูเป็นจำนวนมาก
ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะเป็นเงื่อนไขจะทำลายความหวังของการปฏิรูปการศึกษา
เพราะครูคือความหวังที่จะนำสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา
ทุกคนได้ให้ความสำคัญกับครูอาชีพ
และจากเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก็ให้ความสำคัญและถือว่าครูเป็นผู้มีความสำคัญต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศชาติ
จึงมีบทบัญญัติว่า
ครูซึ่งเป็นบุคลากรวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ต้องผ่านระบบการควบคุมเพื่อให้เป็นครูอาชีพ
เช่น การให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มี
องค์กรวิชาชีพครู มีมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อให้เป็นครูอาชีพอย่างแท้จริง
โดยมีกลไกที่จะส่งเสริมให้ครู มีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
มีระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน มีค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น
เพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะ
ทางสังคมและวิชาชีพเป็นการเฉพาะที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อชี้ให้เห็นว่าขณะนี้ปัญหา
ของคุณภาพการศึกษาส่วนหนึ่งมาจากคนที่มีอาชีพครู
และมีความพยายามที่จะกำหนดแนวทางที่แก้ปัญหาเหล่านี้
2. ครูของครู กับ ครูอาชีพ
ครูอาชีพตามความหมายที่กล่าวมา
เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการและคาดหวังว่าจะมีจำนวนมากขึ้น
เมื่อผลแห่งการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมแต่ยังมีเงื่อนไขบางประการที่น่ากังวลก็คือในระบบการผลิต
พัฒนาครูและองค์กรวิชาชีพที่กำหนดให้ครูทั้งของรัฐและเอกชน
มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่มีข้อยกเว้นสำหรับคณาจารย์ในระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา
ซึ่งในกลุ่มนี้จะรวมถึงคณาจารย์ที่ทำหน้าที่
สอนครู หรือที่เรียกว่า ครูของครู นั่นเอง
ถ้าพิจารณาจากสภาพปัจจุบันพบว่าครูของครูเหล่านี้ยังมีอาชีพครูอยู่จำนวนไม่น้อย
ไม่เข้าลักษณะของครูอาชีพอย่างที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์กล่าวไว้
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาอดีตนายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน ได้กล่าวถึงการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นว่าจะแก้ไขได้โดยผู้นำรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีต้องทำเป็นตัวอย่าง
ทำนองเดียวกัน นักเรียนจะเก่งและดีได้ครูต้องเป็นตัวอย่าง
และเมื่อประเทศไทยอยากได้ครูอาชีพ
คนที่สอนครูก็ต้องเป็นครูอาชีพและเป็นตัวอย่างด้วยเช่นกัน
ในเรื่องนี้ส่วนหนึ่งไปเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการมีใบประกอบวิชาชีพครู
เมื่อมีข้อยกเว้นจะมีช่องทางใดบ้างที่จะช่วยกำกับดูแลให้ครูของครูมีมาตรฐานวิชาชีพและเป็นที่พึ่งของลูกศิษย์
ไม่ใช่ศิษย์เป็นที่พึ่ง (ประโยชน์)ของครู
น่าจะอยู่ที่การกำหนดให้มีระบบกระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
(มาตรา 52) การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
การพัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ (มาตรา 56)
และอาศัยอำนาจของคณะกรรมการการอุดมศึกษา(มาตรา 34) รวมทั้งมาตรการที่ให้ความเป็นอิสระและการจัดให้สถาบันผลิตครูเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐตามมาตรา 36 ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจังเหมือนครูที่สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือไม่
ยังเป็นที่สงสัยจากประชาชนทั่วไป
3. จิตสำนึกและวิญญาณของคนสอนครู
คณาจารย์ที่สอนครูในอดีตมีจำนวนมาก
ที่มีลักษณะครูอาชีพเป็นครูด้วยใจรัก เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ
มีความห่วงใยต่อศิษย์ดุจลูกของตนเอง แต่เมื่อเวลาผ่านมามีกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ
มากระทบทำให้มีครูอาชีพที่เป็นปูชนียบุคคลลดน้อยลงไปอย่างน่าเป็นห่วง
ด้วยสาเหตุอะไรนั้นเป็นเรื่องน่าคิด แต่ก็ไม่อยากให้คิดมากจนเสียเวลาที่จะเตรียมระบบใหม่ที่จะสร้างครูของครูให้เป็นครูอาชีพ
เพื่อที่จะเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดี
ส่งต่อไปยังลูกศิษย์ที่เป็นครู
และถูกถ่ายทอดพันธุกรรมแห่งความดีไปยังผู้เรียนด้วยจิตสำนึกและวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง
การสร้างจิตสำนึกและวิญญาณครู
ทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ เนื่องจากในระยะ 2
ทศวรรษที่ผ่านมา อาชีพครูค่อนข้างได้รับการดูถูกดูแคลนจากสังคมเป็นอย่างมากน่าวิตก 4
ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น คนดีคนเก่งไม่เรียนครู คณาจารย์ที่สอนครูย่อหย่อนในการปฏิบัติหน้าที่ ภาระงานของครูมีมาก
แรงจูงใจค่อนข้างต่ำ ระบบการพัฒนาไม่มีประสิทธิภาพ การอบรมพัฒนาไม่ตรงตามที่ต้องการ
เป็นต้น จิตสำนึกและวิญญาณครูจุดเริ่มต้นน่าจะอยู่ที่การสร้างศรัทธา
คำว่าศรัทธาในที่นี้มีความหมาย 3 มิติ คือศรัทธาต่อตนเอง
ต้องเชื่อและศรัทธาในความรู้ความสามารถของตนเองว่าจะเป็นครูที่ดีได้ เป็นตัวอย่างให้กับสังคมได้ กระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง
ๆ และวิเคราะห์คัดสรรความรู้มาใช้ประโยชน์ได้
และมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสร้างภาพลักษณ์ของครูที่ดีได้ประการที่สองคือ ศรัทธาต่ออาชีพครู
รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นครูที่เป็นวิชาชีพชั้นสูง เห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่เป็นครู
ประการที่สามคือ ศรัทธาต่อองค์กร รักษาชื่อเสียงของสถานศึกษาและองค์กรวิชาชีพครู
ประพฤติและปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ถ้าครูทุกคน
และครูของครูทุกคนมีความศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นจิตสำนึกและวิญญาณของความเป็นครู และสิ่งที่ดีที่เป็นแบบอย่างของสังคมได้ก็จะขยายและถ่ายทอด
ไปสู่เยาวชนชั่วลูกชั่วหลาน
เสมือนกับผู้นับถือศาสนาไม่ว่าศาสนาใดจุดเริ่มก็อยู่ที่ความศรัทธาเมื่อศรัทธาก็ประกาศตนเป็นผู้นับถือศาสนานั้น
และปฏิบัติตาม คำสั่งสอนของศาสนา คำภีร์หรือพระธรรมวินัยต่อไป เมื่อครูศรัทธาต่อวิชาชีพครูจะทำให้เกิดพลังแห่งความ
มุ่งมั่นสร้างสรรค์วิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงตาม
เจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้
4. อาชีพครูกับผู้เรียน
ถ้าผู้เรียนมีครูที่เป็นเพียงผู้ยึดอาชีพครูเพื่อเลี้ยงชีพตนเองจะมีสิทธิเรียกร้องอะไรหรือไม่กลไกควบคุมในปัจจุบันมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะขจัดคนที่มีอาชีพครูอย่างไร
ถ้าพิจารณาจากกฎหมายสูงสุดของประเทศคือ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540แล้วจะพบว่าหมวด 5 ที่กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 81
กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและ
ให้พัฒนาวิชาชีพครู
ซึ่งนำไปสู่การบัญญัติสาระดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก็น่าเชื่อว่าจะเป็นกลไกที่จะสร้างครูอาชีพได้ และถ้าสร้างจากวัตถุดิบใหม่ (ครูใหม่)
ที่พอตกแต่งให้เข้าระบบที่วางไว้ก็น่าจะมีความหวัง แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีครูและ
ครูของครูที่มีวัฒนธรรมการทำงานเข้าข่ายอาชีพครูเป็นจำนวนมาก เราจะทำอย่างไร เพราะบุคคลเหล่านี้จะหา
ผลประโยชน์จากผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า ขายชีทความรู้เก่า ๆ
การหลีกเลี่ยงการสอนตามหน้าที่แต่กระตือรือร้นในการสอนพิเศษ
ทำโครงการพิเศษเพื่อให้ได้เที่ยวต่างประเทศฟรีโดยไม่สนใจว่าผู้เรียนจะเดือดร้อน กู้ยืมเงินมาอย่างไร
สถาบันบางแห่งกลายเป็นขุมทรัพย์ของบุคคลเหล่านี้ที่คนอื่นแตะต้องไม่ได้ แทนที่จะสร้างสถาบันให้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา
จึงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องสร้างระบบใหม่
เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้เรียนอย่างแท้จริง แนวคิดเรื่องการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจะได้ไม่กลายเป็นว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งขุมทรัพย์ของคนที่ยึดอาชีพครู
5. สร้างกระแสรักษาครูดี - ครูอาชีพ
แนวพระราชดำริด้านการศึกษา 5 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชดำรถึงครูว่า “… ครูจะต้องเป็นผู้ประพฤติตนดีทั้งด้านวิชาการ
คือต้องฝึกฝนตนให้มีความชำนาญในด้านความรู้และวิธีสอน
ส่วนด้านความประพฤติจะต้องเป็นคนที่พร้อมทั้งในด้านจิตใจและการปฏิบัติ
เพื่อที่จะเป็นแบบอย่างแก่ผู้พบเห็น เมื่อลูกศิษย์ได้เห็นและประทับใจในความสามารถและความดีของครูก็จะประพฤติตนตามแบบอย่าง…..”
และยังมีพระราชดำริเกี่ยวกับ
ภารกิจและแนวทางการปฏิบัติตนของครูอีกหลายประการที่ควรนำมาสร้างกระแสให้ครูได้ตระหนักและมีจิตสำนึกของความเป็นครูที่ดี 6 สิ่งที่จะผลักดันให้สังคมไทยมีครูดี
ครูอาชีพจำนวนมากขึ้น อยู่ที่การสร้างกระแสให้
ทุกคนตระหนักและรักษาครูที่ดีไว้
นอกจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังมีวิธีการต่าง ๆ เช่น
การยกย่องชมเชยครูดี ให้โอกาสและส่งเสริมครูทุกคนได้ทำหน้าที่ครูอาชีพอย่างแท้จริง
สกัดกั้นสิ่งที่เป็นบ่อนทำลายและนำความเสื่อมเสียมาสู่วิชาชีพครู
ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสร้างระบบการผลิต พัฒนาครูและ
ประเมินครูให้มีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
ทั้งนี้ ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และองค์กรต่างๆ
ต้องร่วมกันสร้างกระแสอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในที่สุดครูดี -
ครูอาชีพก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น อาชีพครูหรือผู้รับจ้างสอนก็จะค่อย ๆ ลดจำนวนลง
ความหวังของการปฏิรูปการศึกษาก็จะเป็นจริงได้ในไม่ช้า
แหล่งที่มา:http://www.moe.go.th/moe/th/cms_group/detail.php?NewsID=34&Key=aca_article
คุณลักษณะของวิชาชีพทั่วไป
คุณลักษณะ
1.ความซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพ
2.การธำรงไว้ซึ่งเกียรติและศักดิ์แห่งวิชาชีพ ด้วยการปฏิบัติอย่างถูกทำนองคลองธรรมและต้องด้วยกฎหมาย
3.ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ในแง่ของการปฏิบัติทางวิชาชีพ
การปฏิบัติส่วนตนซึ่งหมายถึงการครองชีวิต และการครองตนที่ถูกต้องเหมาะสม
เป็นที่เชื่อถือได้ทางวิชาชีพ พร้อมกันนั้นจะต้องเป็นผู้รู้จักที่จะพัฒนาตนเองทั้งทางด้านครอบครัว
และความก้าวหน้าทางวิชาการ
4.การรักษาความลับของผู้รับบริการทางวิชาชีพ 5.ไม่อวดอ้าง
ไม่โฆษณาชวนเชื่อ หรือประกาศคุณสมบัติความสามารถทางวิชาชีพจนเกินกว่าเหตุ
เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพของคน
แหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/krutubtib/khru/khunthrrm-laea-crrya-brrn-khxng-khru
คุณลักษณะของวิชาชีพครู
คุณลักษณะครูวิชาชีพที่มีคุณภาพ
บทบาทของครูในการช่วยเด็กนักเรียนมีการพัฒนาความรู้มากขึ้น
ครูต้องการพัฒนาการเรียนการสอน
แต่มาตรฐานการพัฒนาของครูแต่ละคนไม่เท่ากัน
พ.ร.บ
การศึกษาแห่งชาติจึงมีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพของครู
ประโยชน์ของพรบคือมีมาตรฐาน
และกำหนดคุณลักษณะของครูที่มีมาตรฐาน
พ.ร.บ.มีรายละเอียดว่าข้อกำหนดและความหมายของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับครู
และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู
จากพรบ ต้องมีการกำหนดมาตรฐวิชาชีพครู
มาตรฐาวิชาชีพครูประกอบด้วย 3 ด้าน
มาตรฐานด้านความรู้และวิชาชีพ
มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน
มาตรฐานด้านความรู้และวิชาชีพ
1) วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง
2) วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น
และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทาง การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง
และผ่านการประเมินกาปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด
มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
มาตรฐานที่ 1
ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5
พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7
รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์
มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน
1) ครูต้องรักและเมตตาศิษย์
โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน
แก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2) ครูต้องอบรมสั่งสอน
ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์
อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3) ครูต้องประพฤติ
ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย
สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และ
สังคมของศิษย์
5) ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ
อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ
ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7) ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู
และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8) ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู
และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9) ครูพึงประพฤติ
ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์
และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
ถึงแม้ว่ามาตรฐานทั้ง 3
ด้านจะมีความสำคัญแต่มาตรฐานที่โดดเด่นและเห็นว่าเป็นหัวใจของการเป็นครูวิชาชีพที่มีคุณภาพคือ
มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
เพราะมาตรฐานด้านการปฏิบัติงานเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือและส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเอง
การพัฒนาตัวเองสำคัญ เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งไม่ว่าจะทำงานทางด้านใด เช่นในความเป็นครูถ้าหากครูไม่มีอะไรใหม่ๆ
สอนนักเรียน ไม่มีความรู้ใหม่ๆมาให้นักเรียน
นักเรียนก็จะไม่สามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ
ได้เนื่องจากโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจะใช้วิธีการสอนแบบเดิมอาจจะไม่ทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ได้
การพัฒนาตนเองคือ การเปิดรับความรู้
และความคิดใหม่ๆ
รวมไปถึงการประยุกต์วิธีการทำงานแบบใหม่อยู่เสมอจะเห็นได้ว่ามาตรฐานด้านการปฏิบัติงานมีส่วนช่วยเหลือการพัฒนาตนเองของครูวิชาชีพคือ
มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
ช่วยส่งเสริมการหาความรู้ใหม่ๆเช่นใน มาตรฐานที่ 1
ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ เช่น
การที่ครูเข้าร่วมในการอบรมสัมนาทางวิชาการ
มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือ มาตรฐานที่ 11
แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา เช่น
การค้นหา สังเกต จดจำและรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน
โดยเฉพาะสารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์วิจารณ์ อย่างมีเหตุผล
และใช้ข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม
การพัฒนาการประยุกต์วิธีการทำงานแบบใหม่อยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
เช่นกลุ่มนักเรียนกลุ่มหนึ่ง
การสอนแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้ ต้องคิดหาวิธีเพื่อจะสอนให้เด็กเข้าใจ
หรือมาตรฐานที่ 4
พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง เช่นเตรียมการสอนในลักษณะอื่น ๆ
ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรล
ุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การพัฒนาตนเอง
เช่นมาตรฐานที่ 8
ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
เช่น การแสดงออก การประพฤติและปฏิบัติในด้านบุคลิกภาพทั่วไป การแต่งกาย
กิริยา วาจาและจริยธรรม ที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ
ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธาและถือเป็นแบบอย่าง
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน เช่น รับฟังความคิดเห็น
ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลอื่นในชุมชนและร่วมมือปฏิบัติงาน
เพื่อพัฒนางานของสถานศึกษาให้ชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน
และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ
แหล่งที่มา:https://www.l3nr.org/posts/236703
เหนือสิ่งอื่นใด
ขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งพระราชทานแก่ครูอาวุโส ประจำปีพุทธศักราช 2522 เมื่อวันอังคารที่ 28 ตุลาคม
พ.ศ.2523 (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2541) มีข้อความเกี่ยวข้องกับลักษณะครูที่ดีตอนหนึ่งว่า ........
“ ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ที่กระทำแต่ความดี คือ
- ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร
- ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ เสียสละ
- ต้องหนักแน่น อดทน อดกลั้น
- ต้องรักษาวินัย สำรวม
ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
- ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย
และความสนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตน
- ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
- ต้องรักษาความซื่อสัตย์
รักษาความจริงใจ
- ต้องมีเมตตา และหวังดี
- ต้องวางใจเป็นกลาง
ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ
- ต้องมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการ และความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล”
คุณลักษณะที่ดีของครู หมายถึง
เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความดี
หรือลักษณะที่ดีของครูและเป็นลักษณะที่ต้องการของสังคม
ลักษณะครู ที่ดี
ควรมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์ มีความเสียสละ หมั่นเพียรศึกษา
ปรับปรุงวิธีการสอน เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ต้องมีความเข้าใจและเอาใจใส่ตัวศิษย์ทุกคนเป็นกำลังใจและช่วยสร้างแรงบัลดาลใจให้กับศิษย์เพื่อให้เขาเป็นคนใฝ่เรียนรู้
เป็นแบบอย่างที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู
มีจิตวิญญาณของความเป็นครู
สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี
มีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความยุติธรรม
ยอมรับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่น
รวมถึงยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคนด้วย
คุณลักษณะครูที่ดี
1.ลักษณะครูที่ดีจากผลการวิจัย
· กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ได้ทำการวิจัยเรื่องของครูที่ดีโดยการสอบถามจากบุคคลหลายฝ่าย
คือ นักเรียน ครู ผู้บริหารการศึกษา
ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ และผู้ปกครอง
ใช้เวลาในการวิจัย พ.ศ.2518 – พ.ศ.2520 : ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ทำการวิจัยเรื่องลักษณะของครูที่ดีที่ได้
กระทำในวงกว้าง
ผลจากการวิจัยลักษณะของครูที่ดี สรุปผลได้ดังนี้ (กรมการฝึกหัดครู 2520
: 363 – 371 )
1.ด้านคุณธรรมและความประพฤติ ได้แก่
ความเที่ยงธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต การตรงต่อเวลา ร่าเริงแจ่มใส รู้จักเสียสละ
วาจาสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองกับเด็ก และเข้ากับเด็กได้
เป็นตัวอย่างในการประพฤติดี มีมนุษยสัมพันธ์ แต่งกายเรียบร้อย มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีวาจาสุภาพอ่อนโยนเว้นจากอบายมุขต่างๆ
ไม่ทำตัวเสเพล มีระเบียบวินัย อารมณ์มั่นคง มีความปรานี
รู้จักปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นคนมีเหตุผล รู้จักสิทธิและหน้าที่
2 ด้านความยึดมั่นในสัญชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ อันเป็นหลักสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นครูที่ให้การศึกษาแก่
อนุชนของชาติ
ให้มีความรักและห่วงแหนในสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของความเป็นไทย
3 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน
รู้จักเตรียมการสอนเพื่อให้การสอนและการเรียนของนักเรียนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการเอาใจใส่การสอน
อบรมความประฟฤติและปลูกฝั่งค่านิยมดีงามให้แก่นักเรียน
มีความขยันขันแข็ง มีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีความศรัทธาต่ออาชีพครู
อุทิศตัวเพื่อ
ราชการ มีสุขภาพทางกายและจิตใจที่ดี
รู้จักติดต่อกับผู้ปกครอง และพยายามเข้าใจเด็ก
4 ความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสาร
รู้จักหลักการพูด การอภิปรายบทเรียนแจ่มชัด รู้จักใช้ภาษาถูกต้อง
5 เอาใจใส่ค้นคว้าความรู้อยู่เสมอ
รู้และตามความเคลื่อนไหวทางการศึกษาอยู่เสมอโดยเฉพาะแผนการศึกษาแห่งชาติและหลักสูตร
รู้จักปรับวิธีการสอนแบบใหม่และเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
การเป็นครูสอนให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ คือ
ความรู้คู่คุณธรรมมิใช่เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย การเป็นครูที่ดีต้องอาศัยความอดทน
เสียสละ มีเมตตา
ซึ่งเป็นคุณสมบัติเพียงส่วนหนึ่งของความเป็นครูที่ดี
คุณลักษณะของครูที่ดีมีหลายประการ
ซึ่งจะได้นำมากล่าวถึงลักษณะของครูที่ดีตามคำสอนในพุทธศาสนา
ลักษณะของครูที่ดี
· จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลักษณะครูดีในประเทศไทยของนักการศึกษาหลายท่าน
ดิเรก
พรสีมา และคณะ (2543) พบว่าครูที่ดีควรมีลักษณะที่จำเป็น
3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านคุณลักษณะ
1.1
ต้องมีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู
และพร้อมที่จะพัฒนาวิชาชีพของตนอยู่เสมอ
1.2
ประพฤติตนเป็นแบบอย่างแก่ผู้เรียนทั้งด้าน
ศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย
สุขนิสัย และอุปนิสัย มีความเป็นประชาธิปไตย
1.3
ใฝ่หาความรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
1.4
มีความเมตตาแก่ศิษย์
และเห็นคุณค่าของศิษย์
1.5
มีสุขภาพสมบูรณ์
1.6
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิชาการสามารถใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
1.7
มีบทบาทในการพัฒนาชุมชน
สามารถเป็นผู้นำชุมชนได้
1.8
ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภาษา และการวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง
1.9
สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นครูแบบใหม่ในระบบสากลได้ คือ
การรู้ในวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น มีความหลากหลายเพื่อตอบสนอง ผู้เรียนเป็นหลัก สามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ และสร้างสรรค์ข้อมูลสะท้อนกลับสู่ ผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งเป็นครูที่เข้าหาผู้เรียนและชุมชนได้มากขึ้น
2. ด้านความรู้ของครู
2.1
ครูต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างแท้จริง
สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีในศาสตร์ความรู้มาสู่การปฏิบัติได้ ทั้งการปฏิบัติในระดับสากลและ
ในระดับท้องถิ่น
2.2
มีความรู้ด้านการวิจัย
วิทยาการคอมพิวเตอร์
และภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
2.3
มีความรู้เรื่องเทคนิคการสอน
จิตวิทยา
การวัดผลและประเมินผล
และสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2.4
รู้ข้อมูลข่าวสารรอบตัว
และเรื่องราวในท้องถิ่น
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และฝึกผู้เรียนคิดวิเคราะห์วิจารณ์ได้
3. ด้านการถ่ายทอดของครู
3.1
สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนต่าง
ๆ
เพื่อจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่น่าสนใจ
ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้
นั้นสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ต่อไปได้
3.2
สามารถอบรมนิสัยให้ผู้เรียนมีศีลธรรม
วัฒนธรรม กิจนิสัย สุขนิสัย
และอุปนิสัยรวมทั้งรักในความเป็นประชาธิปไตย เพื่อเป็นบรรทัดฐาน
ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
3.3
สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนใฝ่รู้
ก้าวทันเทคโนโลยี
ตลอดจนสามารถใช้ภาษาสื่อสารกันได้เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
และสามารถ
ใช้เครื่องมือต่าง ๆ
ในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
3.4 สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมองกว้าง คิดไกล
และมีวิจารณญาณที่จะวิเคราะห์และเลือกใช้ข่าวสารข้อมูลให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้
3.5
พัฒนาผู้เรียนเรียนรู้เรื่องราวต่าง
ๆ ของชุมชน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาชุมชน และแก้ปัญหาต่าง ๆ
ในชุมชนได้
สรุปได้ว่าครูดีจะต้องมีคุณลักษณะที่ดีทั้งใจคือมีความศรัทธาในวิชาชีพครู มีจิตใจเมตตา
มีศีลธรรม และกายที่ดี คือมีสุขภาพสมบูรณ์ พัฒนาตัวเอง
ให้ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในปัจจุบัน พร้อมทั้งพัฒนานักเรียนให้รู้และใช้เครื่องมือต่าง ๆ
ในการแสวงหาความรู้ให้ตัวเองได้ ครูต้องเข้าใจชุมชน และเข้าหาชุมชนมากขึ้น
และสามารถให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้พัฒนา และแก้ปัญหาของ
ชุมชนได้
· คณะกรรมการส่งเสริมวิชาชีพครูได้กำหนดว่าบุคคลที่ประกอบวิชาชีพครูควรมีความรักความเมตตาและความปรารถนาดี
มีความเสียสละและ
อุทิศตนและเวลาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการในทุกด้าน
ทั้งควรมีลักษณะอย่างน้อย 4 ประการ คือ 1 รอบรู้ 2 สอนดี 3 มีคุณธรรม
จรรยาบรรณ 4
มุ่งมั่นพัฒนา
1 รอบรู้ คือ จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม
รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่เกิดขึ้นในสังคมของตนและของโลก
มีความรอบรู้ในวิชาชีพของตน เช่น
ปรัญญาการศึกษา ประวัติการศึกษา หลักการศึกษานโยบายการศึกษา
แผนและโครงการพัฒนาการศึกษา และจะต้องมี
ความรู้อย่างเชี่ยวชาญในเรื่องหลักสูตร
วิธีสอนและวิธีประเมินผลการศึกษาในวิชาชีพ หรือกิจการที่ตนรับผิดชอบ
2 สอนดี คือ จะต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถ และความสนใจของนักเรียน อีกทั้งสามารถ
ให้บริการแนะแนวในด้านการเรียนการครองตนและการรักษาสุขภาพอนามัย
จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถปรับการ
เรียนการสอนให้เหมาะสมกับสถานะการของบ้านเมือง
3 มีคุณธรรมจรรยาบรรณ คือ มีศรัทธาในวิชาชีพครู
ตั้งใจใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพเพื่อให้บริการแก่นักเรียนและสังคม
มีความซื่อสัตย์
ต่อหลักการของอาชีพครูมีความรับผิดชอบในด้านการศึกษาต่อสังคม
ชุมชน และนักเรียน มีความรัก ความเมตตาและความปรารถนาดีต่อนักเรียน อุทิศตนและ
เวลาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับความเจริญเติบโตและพัฒนาการในทุกด้าน
4 มุ่งมั่นพัฒนา คือ รู้จักสำรวจและปรับปรุงตนเอง สนใจใฝ่รู้
และศึกษาหาความรู้ต่างๆ รู้จักเพิ่มพูนวิทยฐานะของตน คิดค้นและทดลอง
ใช้วิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนด้วย
2.ลักษณะครูที่ดีในทัศนะ
§
ในทัศนะของครูที่ดีซึ่ง ส. ศิวรัตน์ (2516: 26-42) ดังกล่าวถึงลักษณะของครูไทยในอุดมคติไว้ดังนี้
1 รู้วิชาที่ตนสอนเป็นอย่างดี
2 ส่งเสริมให้นักเรียนสนใจการเรียน
3 ชอบวิชาที่ตนสอน
4 มีความจำดีพอสมควร
5 มีความรับผิดชอบงาน
§
จากทัศนะของบุคคลต่างๆ
ที่กล่าวถึงลักษณะของครูที่ดีจึงสรุปได้ว่า ลักษณะของครูที่ดีมีดังนี้
1 ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของคนทั่วไป
2 เป็นคนตรงต่อเวลา
3 การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
4 บุคลิกภาพดี และการวางตัวดีรู้จักกาลเทศะ
5
การเป็นผู้มีเหตุผล
6 เป็นผู้ทีเมตตา
7 เป็นผู้มีความรู้ดี มั่นศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
8 เป็นผู้มีความเสียสละ และจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น
9 เป็นผู้รู้จักเสียสละ
10 รู้จักดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร
11 มีความขยันหมั่นเพียร
ที่ทำงานในทางสุจริต
12 มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
13 มีความรับผิดชอบ
14 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
15 มีความยุติธรรม
16 ยึดมั่นในการทำความดีด้วยกาย วาจา และใจ
17 ส่งเสริมในค่านิยมที่ถูกต้องและดีงาม
18 เป็นครูที่พร้อมด้วย ภูมิความรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน
19 มีความมั่นคงทางอารมณ์
20 ทำหน้าที่สอนให้ลูกศิษย์เป็นคนดีมีความรู้ และคุณธรรม
การสอนที่ได้ผลและเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่แท้จริงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ค่านิยม ทัศนะคติของผู้เรียนในทางสร้างสรรค์
ที่สังคมปรารถนา รู้จักตนเอง รู้จักชีวิต
รู้จักนำความรู้ความเข้าใจและช่วยแก้ปัญหา
และเสริมสร้างชีวิตของตนและสังคมให้ดีขึ้นนั้นคือการนำความ
แหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/orathaieducation/home/khunlaksna-thi-di-khxng-khru
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูไทย
จรรยาบรรณครู หมายถึง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติหรือการปฏิบัติตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู
เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของความเป็นครู
จรรยาบรรณของครูไทยนั้นได้มีการพระราชบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรและมีกฎหมายรับรองเป็นครั้งแรกเมื่อ
พ.ศ. 2506 โดยอาศัยอำนาจบังคับของ พ.ร.บ ครู พ.ศ.2488
ที่กำหนดให้ครุสภาเป็นสถาบันผู้ออกระเบียบบังคับได้
เรียกว่าระเบียบประเพณีของครูว่าด้วยจรรยาบรรณครู 10 ข้อ
ระเบียบทั้งสองฉบับนี้มีผลบังคับตามกฎหมายแต่การแยกระเบียบเป็นจรรยามารยาทกับวินัยทำให้ยุ่งยากในการใช้บังคับ
สับสนทั้งผู้ใช้และผู้ปฏิบัติ
ภายหลังคุรุสภาจึงได้ปรับปรุงยุบรวมระเบียบทั้งสองฉบับ แล้วกำหนดขึ้นใหม่เมื่อ
พ.ศ.2526 เรียกว่าระบบคุรุสภา
ว่าด้วยจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบปะเพณีของครู พ.ศ. 2526
จนปี พ.ศ.2539
คุรุสภาได้ปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของครูขึ้นใหม่ในอีกครั้งโดยตัดข้อความที่มีลักษณะเป็นวินัยออกไป
เหลือเพียงบทบัญญัติที่มีลักษณะที่เป็นจริยธรรมหรือจรรยาบรรณละมีเพียง 9 ข้อ เรียกว่าระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณครูไทยในปัจจุบัน
คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาประกาศใช้ระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณครู พ.ศ.
2539 ขึ้นเพื่อใช้แทนระเบียบคุรุสภาว่า
ด้วยจรรยามารยาทและระเบียบประเพณีของครูฉบับเดิม และประกาศใช้ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 มีทั้งหมด 9 ข้อดังนี้
1.
ครูต้องรกและเมตตาศิษย์
โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษษ
เล่านเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2. ครูต้องอบรม สั่งสอน
ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้
ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3.
ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งกาย วาจา
และจิตใจ
4.
ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางการ สติปัญญา จิตใจ
อารมณ์และสังคมของศิษย์
5.
ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6.
ครูย่อมพัฒนาตนเองในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ
และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมการเมืองอยู่เสมอ
7.
ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8.
ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
9.
ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติ เป็นผู้นำในการอนุรักษ์
และพัฒนาภูมปัญญาและวัฒนธรรมไทย
จรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อของคุรุสภานั้น อาจจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ข้อ 1-5 เป็นบทบัญญัติที่ค่อนข้างเข้มงวด เป็นจรรยาบรรณส่วนที่มุ่งกำหนดข้อปฏิบัติของครูต่อศิษย์โดยตรงเป็น
หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์ ต่อวิชาชีพและสังคม
เป็นคุณลักษณะของครูที่สังคมประสงค์นั่นเอง ส่วนข้อ 6 และข้อ
7
เป็นจรรยาบรรณครูที่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาตนเองให้เหมาะกับวิชาชีพ
ให้เหมาะสมกับวิชาชีพครู ส่วนข้อที่ 8 และ 9 เป็นจรรยาบรรณที่ครูพึงปฏิบัติต่อสภาพแวดล้อมอันได้แก่ เพื่อนครู ชุมชน
และท้องถิ่น ที่ครูดำรงตนอยู่ร่วมกัน
อย่างไรก็ดีบทบัญญัติจรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อนี้
บังคับใช้ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ. 2488 มีผลกับครูซึ่งเป็นสมาชิกของคุรุสภาเท่านั้น
กล่าวคือ ตามมาตรา 24 ของ พ.ร.บ. ครูพ.ศ.2488 กำหนดให้มีครูเพียง 4 กลุ่มเท่านั้นได้แก่ (1)
ข้าราชการครู
คือข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งบรรจุและแต่งตั้ง พ.ร.บ. ข้าราชการครู
พ.ศ. 2533 (2) พนักงานครูเทศบาลคือพนักงานเทศบาลต่างๆ
ทั้งประเทศเฉพาะพนักงานผู้ดำรงตำแหน่งผู้สอนในสถานศึกษาของเทศบาล (3) ข้าราชครูกรุงเทพมหานคร
คือข้าราชการครูกรุงเทพมหานครที่สังกัดสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร และ (4) ผู้สอนในโรงเรียนเอกชนซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการโดยต้องได้รับเงินเดือนประจำ
ผู้ประกอบวิชาชีพครูในสังกัดอื่นๆ ยังมีอีกมากมาย ได้แก่ ผู้สอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ
ผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม
ผู้สอนในสังกัดของกระทรวงสาธารณะสุขตลอดจนผู้สอนในสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงอื่นๆ
หรือรัฐวิสาหกิจอีกด้วย ฉะนั้นการกำหนดจรรยาบรรณครูสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูอย่างเป็นกิจจะลักษณะที่ครอบคลุมที่ครอบคลุมทั้งวงการครูจึงยังไม่มีองค์กรหรือสถาบันใดจัดขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติจึงจัดสัมมนาเรื่องจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูขึ้นเมื่อปี
พ.ศ. 2523 และสรุปเป็นรายงานโดยแยกเป็นประเด็นเป็น 3 หมวดคือ หมวดที่ 1 ว่าด้วยอุดมการณ์ของครู หมวดที่ 2 ว่าด้วยเอกลักษณ์ของครูและหมวดที่ 3
ว่าด้วยมาตรฐานการปฏิบัติตนของครู
จรรยาบรรณครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับจรรยาบรรณครู
ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยมาตรฐานการปฏิบัติตนของครูนั้น
กำหนดว่าบทบัญญัติในหมวดนี้เป็นสิ่งที่ครูต้องถือปฏิบัติมี 12 ข้อได้แก่
1.
ต้องรักษาความสามัคคี ชื่อเสียงของหมู่คณะ และสถานศึกษาที่กำหนดอยู่
2.
ต้องไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนา
3.
ต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว
4.
ไม่ละทิ้งการสอน อุทิศเวลาให้แก่ศิษย์
และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ
5.
ต้องรักษาความลับของศิษย์ เพื่อนร่วมงาน และสถานศึกษา
6. ต้องถือปฏิบัติแบบธรรมเนียมที่ดีของศาสนา
7.
ต้องประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์
สุจริตและเที่ยงธรรมโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์อันมิชอบ
8.
ต้องไม่ปิดบังอำพราง หรือบิดเบือนเนื้อหาสาระทางวิชาการ
9.
ต้องไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามเพื่อนร่วมงาน และบุคคลใดๆ
เชื่อฟังและไม่กระด้างกระเดื่องต่อผ้บังคับบัญชา
ซึ่งสั่งการในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
10. ต้องไม่เบียดเบียนใช้แรงงานหรือนำผลงานของศิษย์ไปเพื่อประโยชน์
11. ต้องไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ
12. ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
จรรยาบรรณครูของคณะกรรมการการศึกษาแห่ชาติไม่มีกฎหมายรับรองอย่างเป็นทางการ
จึงยังไม่มีที่สิ้นสุดในการนำไปใช้ในวงการครูทั่วไป
คุณธรรมและจรรยาบรรณที่พึงประสงค์ของครุคืออะไร
คุณธรรม ซึ่งหมายถึง
คุณสมบัติที่เป้นความดี ความถูกต้อง
ซึ่งมีอยู่ภายในใจของบุคคลช่วยให้พร้อมที่จะทำพฤติกรรมต่างๆ
อันเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
คุณธรรม
เป็นหลักที่มนุษย์ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต
เป็นหลักแห่งความประพฤติปฏิบัติและความรู้ความคิดที่ดีงามนั่นเอง
คุณธรรมของครู หมายถึง
คุณสมบัติที่เป็นความดี ความถูกต้องเหมาะสมซึ่งมีอยู่ภายในจิตใจของผู้เป็นครูและเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูกระทำหน้าที่ของครูได้อย่างสมบูรณ์
ทัศนคติเชิงจริยธรรม คือ
ความรู้สึกของบุคคลเกี่ยวกับลักษณะหรือพฤติกรรมเชิงจริยธรรมต่างๆ
ว่าชอบหรือไม่ชอบลักษณะนั้นๆเพียงใด
ทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลส่วนมากจะสอดคล้องกับค่านิยมในสังคมนั้น
แต่บุคคลบางคนในสถานการณ์ปกติอาจมีทัศนคติแตกต่างไปจากค่านิยมของแต่ละบุคคล
เหตุผลเชิงจริยธรรม
หมายถึงการที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกที่จะกระทำ
หรือเลือกที่จะไม่กระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
เหตุผลที่จะกล่าวถึงนี้จะแสดงให้เห็นเหตุจูงใจหรือแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการกระทำต่างๆของบุคคล
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม
หมายความถึงการที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบหรืองดเว้นการแสดงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์หรือค่านิยมในสังคมนั้น
ตัวอย่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมเช่น การให้ทาน การเสียสละเพื่อส่วนรวม
และการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก การโกงสิ่งของเงินทอง การลักขโมย
การกล่าวเท็จเป็นต้น พฤติกรรมจริยธรรมเป็นพฤติกรรมที่สังคมให้ความสำคัญมากกว่าด้านอื่นๆ
ทั้งนี้เพราะการกระทำในทางที่ดีและเลวของบุคคลนั้น
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความผาสุกและความวุ่นวายของส่วนรวม
คุณธรรมกับจริยธรรมเป็นเรื่องเดียวเกี่ยวพันกัน
อาจกล่าวได้ว่า คุณธรรมเป็นธรรมฝ่ายดีที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล
การแสดงออกของคุณธรรมให้ประจักษ์นั้นเรียกว่าจริยธรรมนั่นเอง
ส่วนคำว่าจริยศาสตร์คือเหตุผลที่อธิบายสำหรับข้อหรือกฎที่ต้องปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์ทางวิชาปรัชญาที่เกี่ยวกับส่วนที่เรียกว่าจริยธรรม
จรรยาบรรณครูไทยในปัจจุบัน
คณะกรรมการอำนวยคุรุสภาว่า ด้วยจรรยามรรยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครูฉบับเดิม
และได้ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2539 มีทั้งหมด 9 ข้อดังนี้
1.ครูต้องรักและเมตตาศิษย์
โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษา
เล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2.ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้
ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3.ครูต้องประพฤติ
ปฏิบัติตนอย่างเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4.ครูต้องไม่ทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริทางกาย
สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5.ครูต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆอันเป็นการหาผลประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6.ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ
ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
7.ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8.ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชุนในทางสร้างสรรค์
9.ครูพึงปฏิบัติ เป็นผู้นำในทางอนุรักษ์
และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
จรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อของคุรุสภานั้น อาจจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือข้อ 1-5 เป็นบทบัญญัติที่ค่อนข้างเข้มงวด
เป็นจรรยาบรรณส่วนที่มุ่งกำหนดข้อปฏิบัติของครูต่อศิษย์โดยตรง
เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์ ต่อวิชาชีพ และต่อสังคม
เป็นคุณลักษณะของครูที่สังคมประสงค์นั่นเอง ส่วนข้อ 6 และข้อ
7
เป็นจรรยาบรรณครูเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาตนเองให้เหมาะกับวิชาชีพครู
ส่วนข้อ 8และ9
เป็นจรรยาบรรณที่ครูพึงปฏิบัติต่อสภาพแวดล้อมอันได้แก่ เพื่อนครู ชุมชน
และท้องถิ่นที่ครูดำรงอยู่ร่วมด้วย
อย่างไรก็ดีบทบัญญัติจรรยาบรรณครูทั้ง
9 ข้อนี้ บังคับใช้ใช้ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488
มีผลเฉพาะกับครูซึ่งเป็นสมาชิกของคุรุสภาเท่านั้น กล่าวคือ ตามมาตรา 24ของ พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 กำหนดให้มีครูเพียง 4 กลุ่มเท่านั้นได้แก่ (1)ข้าราชการครู
คือข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งบรรจุและแต่งตั้ง พ.ร.บ.ข้าราชการครู พ.ศ.2533
(2)พนักงานครูเทศบาล คือพนักงานเทศบาลต่างๆ
ทั่งประเทศเฉพาะพนักงานผู้ดำรงตำแหน่งผู้สอนในสถานศึกษาของเทศบาล (3) ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
คือราชการกรุงเทพมหานครที่สังกัดสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร และ (4) ผู้สอนในโรงเรียนเอกชนซึ่งอยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการโดยต้องได้รับเงินเดือนประจำ
ผู้ประกอบวิชาชีพครูในสังกัดอื่นๆ ยังมีอีกมากมายได้แก่ ผู้สอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ
ผู้สอนในสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงอื่นๆ หรือรัฐวิสาหกิจอีกด้วย
ฉะนั้นการกำหนดจรรยาบรรณครูสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูอย่างเป็นกิจาลักษณะที่ครอบคลุมทั้งวงการครูยังไม่มีองค์กรใดหรือสถาบันใดจัดทำขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติจึงจัดสัมมนาเรื่องจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูขึ้นเมื่อปี
พ.ศ.2523 และสรุปเป็นรายงานโดยแยกประเด็นเป็น 3 หมวดคือ หมวดที่1 ว่าด้วยอุดมการณ์ของครู หมวดที่2 ว่าด้วยเอกลักษณ์ของครู และหมวดที่3
ว่าด้วยมาตารฐานการปฏิบัติตนของครู
จรรยาบรรณครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับจรรยาบรรณครูในหมวดที่3 ว่าด้วยมาตรฐานการปฏิบัติตนของครูนั้น
กำหนดว่าบทบัญญัติในหมวดนี้เป็นสิ่งที่ครูต้องถือปฏิบัติมี 12 ข้อได้แก่
1.ต้องรักษาความสามัคคี ชื่อเสียงของหมู่คณะ และสถานศึกษาที่สังกัดอยู่
2.ต้องไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนา
3.ต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว
4.ไม่ละทิ้งการสอน อุทิศเวลาให้แก่ศิษย์
และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ
5.ต้องรักษาความลับของศิษย์ เพื่อนร่วมงาน สถานศึกษา
6.ต้องถือปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมที่ดีของสถานศึกษา
7.ต้องประพฤติและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์
สุจริตและเที่ยงธรรมโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์โดยมิชอบ
8.ต้องไม่ปิดบังอำพราง หรือบิดเบือนเนื้อหาทางวิชาการ
9.ต้องไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามเพื่อนร่วมงาน และบุคคลใดๆ เชื่อฟัง และไม่กระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา
ซึ่งสั่งการในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฏหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
10.ต้องไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของศิษย์ไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
11.ต้องไม่นำ
หรือยอมให้นำลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ
12.ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
จรรยาบรรณครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติไม่มีกฎหมายรองรับอย่างเป็นทางการ
จึงยังไม่เป็นที่สิ้นสุดในการนำไปใช้ในวงการครูทั่วไป
จรรยาบรรณครูกับจรรยาบรรณวิชาชีพต่างๆ
กุลยา ตันติผลาชีวะและคณะ : (2529 : 104-105) สรุปผล
การศึกษาเปรียบเทียบจรรยาบรรณของวิชาชีพครูกับวิชาชีพครูกับวิชาชีพอื่นอีก 7 สาขา คือ วิชาชีพแพทย์ พยาบาล ทนายความ ตุลาการ สถาปัตยกรรม วิศวกรรม
และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตโดยการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เป็นบทบัญญัติทางวิชาชีพ
และสนทนากับผู้รู้ในสาขาวิชาชีพนั้นๆ
พบว่าจรรยาบรรณวิชาชีพดังกล่าวเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่
ส่วนที่แตกต่างกันจะเป็นส่วนของจรรยาบรรณที่เน้นความจำเพาะ
ตามเอกลักษณ์ของวิชาชีพแต่ละวิชาชีพเท่านั้น
ว่ามีข้อควรปฏิบัติและข้อละเว้นเป็นอย่างไรในทางวิชาชีพและได้สรุปลักษณะตรงกันหรือร่วมกันของแต่ละวิชาชีพที่ศึกษาทั้ง
7 สาขาว่า มีลักษณะจรรยาบรรณเหมือนกันอยู่ 5 ประการคือ
1.ความซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพ
2.การธำรงไว้ซึ่งเกียรติและศักดิ์แห่งวิชาชีพ
ด้วยการปฏิบัติอย่างถูกทำนองคลองธรรมและต้องด้วยกฎหมาย
3.ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ในแง่ของการปฏิบัติทางวิชาชีพ
การปฏิบัติส่วนตนซึ่งหมายถึงการครองชีวิต และการครองตนที่ถูกต้องเหมาะสม
เป็นที่เชื่อถือได้ทางวิชาชีพ
พร้อมกันนั้นจะต้องเป็นผู้รู้จักที่จะพัฒนาตนเองทั้งทางด้านครอบครัว
และความก้าวหน้าทางวิชาการ
4.การรักษาความลับของผู้รับบริการทางวิชาชีพ
5.ไม่อวดอ้าง ไม่โฆษณาชวนเชื่อ หรือประกาศคุณสมบัติความสามารถทางวิชาชีพจนเกินกว่าเหตุ
เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพของคน
การศึกษาดังกล่าวเป็นการเปรียบเทียบโดยใช้จรรยาบรรณครูฉบับเดิมของคุรุสภาเป็นหลัก
อย่างไรก็ดีแม้ขณะนี้สถาบันวิชาชีพดังกล่าวหลายสถาบันได้ปรับปรุงจรรยาบรรณวิชาชีพใหม่ให้เหมาะกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
สาระและหลักการสำคัญๆของจรรยาบรรณแต่ละวิชาชีพก็ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก
คุณธรรมและจรรยาบรรณที่พึงประสงค์ของครู
คุณธรรมซึ่งหมายถึง คุณสมบัติที่เป็นความดี
ความถูกต้องที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล ช่วยให้พร้อมที่จะกระทำพฤติกรรมต่างๆ
อันเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
คุณธรรมเป็นหลักที่มนุษย์ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต
เป็นหลักแห่งความประพฤติปฏิบัติและความคิดที่ดีงามนั่นเอง
คุณธรรมของครู หมายถึง
คุณสมบัติที่เป็นความดี ความถูกต้องเหมาะสมที่มีอยู่ภายในจิตใจของผู้เป็นครูและเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูกระทำหน้าที่ของครูได้อย่างสมบูรณ์
แหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/krutubtib/khru/khunthrrm-laea-crrya-brrn-khxng-khru
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น